โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับเสือโคร่งเบงกอลทุกประการ เพียงแต่มีลักษณะเด่น คือ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า จมูกสีชมพูและสีขาวครีม ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของยีน โดยมิใช่สัตว์เผือกโดยแท้จริง แต่เป็นอาการผิดปกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย ที่เรียกว่า "ภาวะด่าง"
เสือโคร่งขาวเบงกอล ตัวแรกที่มีประวัติบันทึกไว้ในธรรมชาติ พบที่ประเทศอินเดีย ในรอบ 100 ปี พบเพียง 12 ตัวเท่านั้น ปัจจุบันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ และด้วยความโดดเด่นในสีผิวจึงนิยมแสดงไว้ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ มีการนำไปเพาะเลี้ยงในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จนมีแพร่ขยายพันธุ์ออกลูกในที่เลี้ยงปัจจุบันมีเสือโคร่งขาวประมาณ 200 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้แล้ว เสือโคร่งขาวเบงกอล ยังเป็นสัตว์เลี้ยงของบุคคลระดับมหาเศรษฐีด้วย เช่น ไมค์ ไทสัน อดีตแชมป์โลกมวยสากลในรุ่นเฮฟวี่เวทชาวอเมริกันเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น